Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยโครงการดิจิทัลชุมชนด้าน e-Commerce

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว สุชาดา พุทธรักษา
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในโครงการดิจิทัลชุมชนด้าน e-Commerce ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นางสาวสุชาดา พุทธรักษา หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 การวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยโครงการดิจิทัลชุมชนด้าน e-Commerce มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยในปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศจีน มาเลเซีย และUNCTAD เพื่อวิเคราะห์ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยโครงการ e-Commerce ชุมชน ที่ส่งผลถึงการเติบโต ของเศรษฐกิจ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยโครงการดิจิทัลชุมชนด้าน e-Commerce โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทั้งในรูปแบบ Data Analysis และ Document Research โดยศึกษาวิเคราะห์จากข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลส ารวจทางสถิติ ข้อมูลการให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตและข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จาก บทความวิชาการ รายงานการวิจัย นโยบายและแผน กฎหมายและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และศึกษาเปรียบเทียบนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยและประเทศต้นแบบ และ สรุปรูปแบบของแนวทางขับเคลื่อนโครงการของไทย โดยน าข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาก าหนดเป็น ข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยโครงการดิจิทัลชุมชนด้าน e-Commerce จากการศึกษาพบว่าการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนที่คุ้นชินกับการเป็นแหล่งผลิตสินค้า และการจ าหน่ายแบบออฟไลน์ยังต้องการกลไกในการพัฒนาให้เข้าสู่ระบบการจ าหน่ายในระบบออนไลน์ อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการปรับตัวและปรับทัศนคติของชุมชนให้รู้จัก “ผลิตได้ ขายเป็น”การรวมกลุ่ม สร้างมูลค่าสินค้าและ มีสินค้าเพียงพอเมื่อมีค าสั่งซื้อ แหล่งเงินทุนและทักษะในการบริหารการเงินและ บัญชี บูรณาการและความต่อเนื่องในการส่งเสริมชุมชนเพื่อไปสู่จุดหมายของการจ าหน่ายสินค้าบนระบบ ออนไลน์ได้อย่างจริงจัง ข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยโครงการดิจิทัลชุมชนด้าน e-Commerce ได้แก่ด้านสินค้า ควรมีการสร้างทักษะในการเพิ่มมูลค่าสินค้า ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพโดย มีเนื้อหาการอบรมที่ครอบคลุมห่วงโซ่มูลค่า การรวมกลุ่มเป็น Cluster ข้ามชุมชนที่มีการผลิตสินค้าที่ ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวเนื่องกัน ด้านเทคโนโลยี ควรมีการอบรมเพื่อสร้างทักษะการขายออนไลน์ โดยมี เนื้อหาการใช้งานคอมพิวเตอร์/Mobile Device ทักษะในการท าธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (การน าเสนอ สินค้า การจัดการค าสั่งซื้อ การบริหารการช าระเงิน การจัดส่งและคืนสินค้า การบริหารลูกค้า การบริหาร ต้นทุนและราคา) การหาแหล่งทุนสนับสนุนการผลิต การบูรณาการงานทะเบียน (One Stop Service) ทั้งการจดทะเบียนผู้ประกอบการ การจดทะเบียนมาตรฐานสินค้า การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนผู้ประกอบการตลาดแบบตรงของผู้ประกอบการธุรกิจ ออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ การจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมเศรษฐกิจ ชุมชนด้าน e-Commerce เป็นการเฉพาะ การสร้าง Cluster ผลิตสินค้าบนฐานนวัตกรรม และการ พัฒนา ecosytem โดยน าเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data driven technology) มาใช้เพื่อ บูรณาการข้อมูลน าไปใช้ประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และบริหารจัดการการผลิต การจ าหน่ายอย่างมี ประสิทธิภาพ

abstract:

ABSTRACT Title Guidelines to mobilize rural community economy with e Commerce Field Economics Name Ms. Suchada Buddharuksa Course NDC Class 60 The objectives of this research are to study the current directions of digital economy development in Thailand comparing them with the digital economy promotion policies in China, Malaysia and xxx. Analysis of criteria which impact the economic growth via rural community e-Commerce in Thailand are then proposed. Data on e-Commerce infrastructure and enablers, statistics and secondary data from articles, journals, research, policy and plans of relevant ministries and bodies are used in this qualitative research. The study shows that further to improving the connectivity across the country, to empower the rural community capability which is familiar with production and physical/offline selling of its products, we still need to develop the efficient mechanism to shift them to digital commerce for inclusive growth. These includes the adjustment of self and attitude towards “Ability to produce and to market”, the grouping into clusters for value-added and enough abundance of products, the financing and financial and accounting training, the skill enrichment on electronic transactions with data-driven technology, one stop service for all related license submission, as well as the continuity and integration of support and implementation activities among government-private sectors in participation with rural community.