Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพเพื่อความมั่นคงและการเติบโตแบบยั่งยืนที่ทุกคนมีส่วนร่วม

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการศึกษา/Education
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี สมัย ใจอินทร์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพเพื่อความมั่นคงและ การเติบโตแบบยั่งยืนที่ทุกคนมีส่วนร่วม ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย พลเรือตรีดร.สมัย ใจอินทร์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 ปาล์มน้้ามันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส้าคัญของประเทศไทย มีการปลูกปาล์มน้้ามันกระจายอยู่ ทั่วทุกภาคของประเทศ พื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้้ามันส่วนมากอยู่ในภาคใต้ น้้ามันปาล์มที่สกัดได้สามารถ น้าไปใช้ทั้งบริโภค ป็นสารตั้งต้นในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่ม ปัจจุบันประเทศ ไทยมีปริมาณผลผลิตปาล์มน้้ามันเป็นอันดับ 3 ของโลก มีรายได้จากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมี ชีวภาพ หรือ อุตสาหกรรมโอเลโอเคมีเพียง 5.97 พันล้านบาท ในขณะที่ประเทศมาเลเซียสามารถสร้างรายได้ จากอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีฐานน้้ามันปาล์มมากถึง 1.11 แสนล้านบาท ในการวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษารวบรวม กลุ่มผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของพืชน้้ามัน และสถานภาพอุตสาหกรรมเชื้อเพลิง ชีวภาพและเคมีชีวภาพจากพืชน้้ามันของไทย ศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ และเคมีชีวภาพจากพืชน้้ามันของไทย และจัดท้ายุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมี ชีวภาพจากพืชน้้ามันของไทย เพื่อให้เกิดการจัดสรรการใช้ผลผลิตได้อย่างมีคุณค่าต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น และ เศรษฐกิจประเทศอย่างมั่นคง ยั่งยืน โดยทุกคนมีส่วนร่วม จากผลการศึกษาเปรียบเทียบความส้าเร็จของ ประเทศไทยกับมาเลเซีย และการวิเคราะห์ SWOT พบว่า ประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้้ามันของเกษตรกร ไทยด้อยกว่าเกษตรกรของมาเลเซีย ทั้งในด้านของ ผลผลิตต่อไร่ ต้นทุนการผลิต คุณภาพของน้้ามันปาล์ม ตลอดจนการขาดการรวมกลุ่มของเกษตรกร นอกจากนี้ยังพบว่า อุตสาหกรรมการสกัดน้้ามันปาล์ม จนถึง อุตสาหกรรมโอเลโอเคมีของประเทศไทย ยังขาดการโครงสร้างในการควบคุมมาตรฐานและการบริหารจัดการ อย่างเป็นธรรมในภาพรวม จากปัญหาอุปสรรค จุดแข็ง และจุดด้อย ตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ของผู้ที่เกี่ยวข้องได้ถูกรวบรวมและสังเคราะห์เป็นยุทธศาสตร์ที่ส้าคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฐานปาล์ม น้้ามัน ได้แก่ 1. การสนับสนุนให้เกษตรกรมีการบริหารจัดการอย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน ภายใต้ทรัพยากรใน ท้องถิ่น 2. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากปาล์มน้้ามัน 3. การสนับสนุนให้มีการวิจัยปาล์มน้้ามันตลอด ห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์4.ส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5. ปรับองค์การบริหาร ปาล์มและผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร/ปรับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีต้นน้้า เพื่อให้ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์สามารถน้าไปใช้ได้จริง ควรเร่งรัดเร่งรัดจัดตั้ง TPOB (The Official Portal of Thailand Palm Oil Board) และเริ่มต้นส่งเสริมในบริเวณ Key area ได้แก่ สุราษฎร์ธานี กระบี่ และชุมพร เนื่องจากมี เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มจ้านวนมาก และมีการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง

abstract:

ABSTRACT Title Bioenergy –Biochemical Value Chain : Secured, Sustainable and Equitable Ways forward for Thailand Field Science and Technology Name Rear Admiral Dr.Samai Jai-In Course NDC Class 60 Oil palm is becoming a significant economic crop for Thailand with plantations across the country especially in the southern peninsular. The refined palm oil are utilized for both food and non-food products such as biodiesel and biochemical industries. Thailand is the top three producer of palm oil but the scale of the biochemical industry is roughly 6 billion THB per year, small in comparison with Malaysia where value addition in the biochemical or oleochemical sectors are at least 110 billion THB per year. This research study focus on the value chain development of oil palm, industry status, political and economic factors as well as the appropriate development strategies for Thailand regarding this emerging industrial crop. From the SWOT matrix analysis it was found that current productivity of Thai palm plantations are significantly lower than those of leading Malaysian counterparts in the area of production per area, cost per ton and product quality. Furthermore it was found that the organization of farmers (or plantation owners) are still lacking in Thailand. The midstream and downstream industrial sectors still lack policy co-ordination and the industrial standards. Recognizing that this industrial crop has high potential for the value￾addition in the country where new mode of agrarian transitions are needed to achieved thenational targets as set forth by the new 20-year National Strategy, it is recommended that five measures should be implemented to ensure balanced, secured, sustainable and equitable scenario for the stakeholders namely :- 1) Support farmer organizations so that plantation owners, mostly small plot holders, to develop sustainable palm oil production with modern farming practice. The target area should be in the fulcrum of oil palm plantations in the southern provinces of Chumporn, Krabi and Suratthani. 2) Encourage the value addition technology and industrial upgrades. 3) Support Research and Development in the Oil Palm sectors through all the value chain, 4) Encourage the adoption of environment-friendly palm-based oleochemical products in the domestic markets as well as seeking export markets. 5) Revise rules and regulation to support the industry, as well as setting up TPOB (The Official Portal of Thailand Palm Oil Board to oversee the value-chain management.