เรื่อง: แนวทางการจัดเก็บภาษีของรัฐ เพื่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและเสริมสร้างความมั่นคงเศรษฐกิจ
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง สมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการจัดเก็บภาษีของรัฐเพื่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้้า
และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายทางการคลังด้านภาษีอากร และมาตรการ
ทางกฎหมาย และปัญหาความเหลื่อมล้้าทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย วิเคราะห์ปัญหา
สาเหตุความไม่เป็นธรรมในภาระภาษีที่ท้าให้เกิดความเหลื่อมล้้า รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการใช้
นโยบายด้านภาษีอากร เพื่อการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสม ลดความเหลื่อมล้้าทางสังคม และเสริมสร้าง
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจส้าหรับประเทศไทย โดยด้าเนินการวิจัยศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้อง เช่น แนวคิด ทฤษฎีและนิยามของความเหลื่อมล้้า ปัญหาความเหลื่อมล้้าทางสังคมและ
เศรษฐกิจของประเทศไทย นโยบายการคลังด้านภาษีอากร มาตรการทางกฎหมายภาษีอากร
มาตรการทางการคลังในยุคใหม่ เป็นต้น และด้าเนินการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก
(In-depth Interview) โดยผู้บริหารกรมสรรพากร จ้านวน 4 คน นักวิชาการภาษีเชี่ยวชาญ จ้านวน 3 คน
นักกฎหมายเชี่ยวชาญ จ้านวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 11 คน
ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุหลักของปัญหาความเหลื่อมล้้าเกิดจากหลากหลายสาเหตุ
ทั้งปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีความไม่ต่อเนื่อง การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเศรษฐกิจท้าให้เกิด
ความเหลื่อมล้้าตามมา ด้านสังคม การศึกษา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และด้านอื่น ๆ เช่น
นโยบายรัฐ ประสิทธิภาพของรัฐบาลในการบริหารจัดการประเทศ ทั้งนี้ แนวทางการปรับปรุง
มาตรการทางด้านการคลังด้านการจัดเก็บภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้้า ควรมีการด้าเนินการ 5 ด้าน
ได้แก่ 1. การปฏิรูปภาษี 2. ประเภทภาษีต่าง ๆ ควรมีการทบทวนมาตรการการลดหย่อนต่าง ๆ
รวมทั้งการเข้าถึงข้อมูลของบุคคลที่สามและข้อมูลการท้าธุรกรรมต่าง ๆ 3. การปรับปรุงกฎหมายภาษี
อากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเป็นปัจจุบัน 4. การทบทวนมาตรการภาษี โดยมีการวิเคราะห์
และการประเมินผลกระทบของมาตรการเพื่อให้เป็นไปตามหลักความเป็นธรรมและความสามารถ
ในการเสียภาษี 5. ด้านอื่น ๆ เช่น การพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การเพิ่ม
ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านภาษีให้แก่ประชาชน
โดยสรุป ความเหลื่อมล้้าเป็นปัญหาที่มีหลากมิติและมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรง
เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดีระบบภาษีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลไกในการบริหารประเทศ ภาษีจึงเป็นเพียง
ส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้้า ดังนั้น การวางแผนและการด้าเนินการร่วมกันของ
หลายภาคส่วนในสังคมจึงมีความส้าคัญ เช่น การบูรณาการเชิงนโยบาย การบูรณาการการท้างาน
การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร เป็นต้น จึงจะท้าให้ประเทศไทยสามารถขจัดความเหลื่อมล้้าได้
อย่างถาวร
abstract:
ABSTRACT
Title Tax collection policy guidelines to eradicate inequality and
increase economic stability
Field Economics
Name Sommai Siriudomset Course NDC Class 60
The objective is to study, analyze and make recommendation on the
fiscal policy especially on taxation, laws, social and economic inequality in Thailand.
Literature review of related theories and definitions of inequality, taxation and
modern fiscal policy is conducted. Additionally, the researcher conducted an in-depth
interview from Revenue Department officer which is four persons of executive level,
three persons of expert tax economists and four persons of expert legal officers.
From the research, inequality is a result of various factors such as the
imbalance growth of economy, society and education. Government policies and the
effectiveness of government administration are also significant roles in inequality. In
order to improve the fiscal policy especially on taxation, the government should
consider as follows: 1. Tax Reform 2. The review of tax deductions and exemptions in
each tax type 3. The revision of tax laws 4. The review of tax policy especially on the
analysis of impact based on fairness and ability of pay taxes 5. Others such as the
staff training, tax education, the strategy to improve tax collection efficiency.
In conclusion, there are various aspects of inequality and the inequality
trend is increasing. However, taxation is only one of the policy tools. Therefore, to
solve the inequality, other aspects of this problem must be addressed. Hence, the
comprehensive planning and cooperation of stakeholders in terms of policy,
resources and budget are crucial for the end of inequality.