Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: บทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สมยศ ศรีจารนัย
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง บทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอ าเภอต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ าของประชาชน ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายแพทย์สมยศ ศรีจารนัย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามบทบาทของคณะกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตระดับอ าเภอต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ าของประชาชนในพื้นที่เขต สุขภาพที่ 4 ด้วยวิธีวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Method) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอ าเภอ (พชอ.) ที่ได้รับการแต่งตั้ง ปี 2559 ใน 8อ าเภอ ได้แก่ แก่งคอย มวกเหล็ก ดอนพุด จังหวัดสระบุรี, ท่าหลวง ล าสนธิ จังหวัดลพบุรี, ล าลูกกา เมือง จังหวัดปทุมธานีและอ าเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม 2561 โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติการวิเคราะห์ถดถอยและข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ผลการวิจัย พบว่าการปฏิบัติตามบทบาทของ พชอ. ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการ “ร่วมท า ร่วมแก้ไข ร่วมประเมินผล” มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้าน “ร่วมคิด ร่วมพิจารณา ร่วมเป็นเจ้าของ”และด้าน “ร่วมรับผิดชอบ ร่วมเติมเต็ม” อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ ลดความเหลื่อมล้ าของประชาชน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านกายและกายภาพ ด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม อยู่ในระดับมาก ส่วนการลดความเหลื่อมล้ าและการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความคิด ปัญญา และวินัย อยู่ในระดับปานกลาง ผลของการปฏิบัติตามบทบาทต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ าสามารถท านายผลได้ร้อยละ 28.3 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ(p-value 0.01) ข้อค้นพบเชิงคุณภาพ พบว่า การขับเคลื่อนการด าเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอ าเภอของ พชอ. มีเพียง 1 พื้นที่ที่สามารถด าเนินการได้อย่างชัดเจน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการด าเนินงานให้มีความ ชัดเจน ทั้งนี้มีข้อจ ากัด ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจของคณะกรรมการทุกภาคส่วนในแนวทางการพัฒนา คุณภาพชีวิต ศักยภาพของทีมน า ต้นทุนทางสังคม ข้อมูล การมีส่วนร่วมของประชาชน และภาระงาน ส่วนของภาครัฐ ข้อเสนอ ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมให้ครบทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการร่วมคิด ร่วมเป็น เจ้าของ ร่วมเติมเต็ม และร่วมประเมินผล การขับเคลื่อนจากเลือกคนที่มีจิตอาสาสร้างความเข้าใจ ร่วมกัน มีกลไกทุกระดับ ค้นหาต้นทุนสังคม ใช้ข้อมูล ร่วมพัฒนา และติดตามต่อเนื่อง” ข้อเสนอ เชิงนโยบาย ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่ในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระตุ้น ส่งเสริม และ สร้างความเข้าใจในการใช้หลักคิดแบบพอประมาณ เป็นเหตุเป็นผล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ในกระบวนการต่าง ๆ และสนับสนุนให้ พชอ. เป็นหน่วยที่จะบูรณาการนโยบายและท า ความเข้าใจให้กับผู้เกี่ยวข้องให้ชัดเจนก่อนขยายต่อ

abstract:

Abstract Title : The influence of Role of District Health Board on quality of life development and reducing inequality of people in Health Region 4 Filed : Social Psychology Name : Dr. Somyote Srijaranai Course NDC Class 60 This research aimed to investigate the role of District Health Board (DHB) and the effect on quality of life development and reducing inequality of people in Health Region 4. The purposive sampling was done to include the samples who were the DHBin 8 Districts (Kaengkhoi, Don phut, Muak lek, Tha luang, Lam sonthi, Lam luk ka, Moung Phathumthani, and Nonthaburi).The data collection employed by mixed methods; qualitative and quantitative methods during February and March 2018. The questionnaires were analyzed using descriptive statistics and regression analysis while qualitative data was used content analysis. The results revealed that the overall level of DHB role was in moderate level. When considering in each aspect, it was found that driving and evaluating participation were high average whereas encouraging and reinforcing operations or participation in problem definition, strategic plan, data collection and evaluation, and the replenishment of resources were in moderate level. The overall of quality of life development and reducing inequality of people were in high level. The physical aspect and psychosocial aspect were in high level. While cognitive and discipline aspect and reducing inequality were in moderate level. DHB role could predict on improving quality of life development and reducing inequalityof people by 28.3 percent significantly (p-value 0.01). The qualitative analysis revealed that one district can operate clearly while rest of districts are being in phase of beginning operation of quality of life development of the people in the area by participationof the DHB.. However, there are limitations including a better understandingof the DHB in the development of quality of life, the potential of the lead team, social capital, information, participation of people, and workload of public sectors. The recommendations from this study including increasing participation of DHB particularly step of planning, data collection and evaluation. Choosing volunteered man, creating a common understanding, building mechanisms at all levels, using reliable information, finding social capital and continuous monitoring are needed in driving quality of life development of DHB. As well as at policy level should increase the significance of quality of life development to all sectors, promote and enhance the understanding of application the Sufficiency Economy Philosophy, and support DHB to integrate policies into practice.