Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งสู่การปฎิบัติ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง วิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งสู่การปฏิบัติ ลักษณะวิชา ด้านการเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ของประเทศไทย และศึกษา ทบทวน การจัดท าแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 ตลอดจนแผนที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ของประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านคมนาคมขนส่งของโลก วิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยความส าเร็จ ในการขับเคลื่อนแผน และเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่การปฏิบัติ ขอบเขตของการวิจัย คือ เพื่อศึกษาระบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ของประเทศไทย ตามกรอบการจัดท าแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 ระยะเวลาประมาณ 1 ปี กันยายน 2560 – กรกฎาคม 2651 วิธีด าเนินการวิจัย ประกอบด้วย งานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ศึกษาแนวคิด ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติที่เป็นเลิศในต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้และเปรียบเทียบแนวคิด ขั้นตอน ปัจจัยความส าเร็จ และวิธีปฏิบัติเพื่อประกอบการจัดท าข้อเสนอแนะ และวิเคราะห์ผลการด าเนินงานตามแผนงาน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการปฏิบัติที่เป็นเลิศ และจัดท าข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อน แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งสู่การปฏิบัติ ผลจากการวิจัยพบว่า (1) การจัดท าแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ของประเทศไทย มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ แผนระดับชาติ และกระทรวงคมนาคม มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ก าหนดเป้าหมายและเกณฑ์การพิจารณาโครงการ และการติดตามและประเมินผล (2) ความส าเร็จในการขับเคลื่อนแผนฯ ของสหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย มีปัจจัยที่ส าคัญ ดังนี้ ด้านนโยบาย ก าหนดเป้าหมายที่ความชัดเจน สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาในภาพรวม จัดท ายุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีผู้เชี่ยวชาญให้ค าปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาทางเลือกในการลงทุน ด้านปฏิบัติการ การบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก าหนดเกณฑ์และขั้นตอนในการคัดเลือกโครงการ พิจารณาความเสี่ยง และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ด้านวิชาการ ส่งเสริมการวิจัย เทคโนโลยี และพัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการใช้แบบจ าลองในการวางแผน ฉะนั้น จึงควรก าหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกโครงการให้เชื่อมโยงและสอดคล้อง ใช้ประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญในการให้ค าปรึกษา จัดท ายุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน มีการพิจารณาที่ครอบคลุม จัดล าดับการลงทุนและมีกรอบแนวทางที่ชัดเจน สร้างการบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ ใช้ระยะเวลาในการจัดท าแผน ส่งเสริมวิจัยและนวัตกรรม และการใช้แบบจ าลองเป็นเครื่องมือในการวางแผน

abstract:

ABSTRACT Title Approaches to Successful Implementation of Transport Infrastructure Development Plans Field Economics Name Mrs. Wilairat Sirisoponsilp Course NDC Class 60 This study examined Thailand’s transport infrastructure development strategic plan 2015-2022 including planning procedures, related strategies, plans and best practices of the leading countries in transport system development. The research analyzed issues and key success factors in implementing the plans and proposed recommendations to successful implementation. The scope of study comprised investigation of Thailand’s Transport Infrastructure Development according to Transport Infrastructure Development Strategic Plan 2015- 2022 and the study conducted from September 2017 -July 2018. Research methodology involved qualitative method, collection of secondary data, reviewed of planning theory, related research and best practices to explore and compare similarity and differences of practices, key success factors, implementation and proposed recommendations to successful implementation. Study results revealed that (1) Thailand’s transport infrastructure development plan was correlated to government policy, strategy, national plans and Ministry of Transport’s plan and policy with explicit timeframe, criteria for project selection, monitoring and evaluation (2) Key success factors of UK and Australia consisted of (1) Policy: objectives that associated with overall country’s goal, developed related strategies that supporting each other, obtained recommendations from experts in different fields and investment alternatives (2) Operations: integration among related agencies, specified criteria and process for projects selection, risk management, improved efficiency (3) Academic: promote research and development, technology, innovation and the use of modelling. Recommendations included formulation of projects selection criteria that related to overall objectives, promote involvement of experts consultation, developed related strategies in other sectors, prioritized investment projects, stimulate integration among related agencies, set up monitoring and evaluation system, employ sufficient time for strategy development, sponsor research and development, innovation and use of modelling.