เรื่อง: การบูรณาการการใช้คลื่นความถี่เพื่อสนับสนุนภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำหรับการติดต่อสื่อสารแบบเสียงและข้อมูลความเร็วสูง
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการศึกษา/Education
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย วิโรจน์ โตเจริญวาณิช
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การบูรณาการการใช้คลื่นความถี่เพื่อสนับสนุนภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติเพื่อการติดต่อสื่อสารแบบเสียงและข้อมูล
ความเร็วสูง
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
ปัจจุบันระบบติดต่อสื่อสารเพื่อภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีลักษณะเป็น
ระบบสื่อสารเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นใช้งานเฉพาะพื้นที่/เฉพาะภายในหน่วยงาน จึงมีข้อจ ากัดด้านพื้นที่
ครอบคลุมพื้นที่ ปัญหาการลงทุนซ้ าซ้อน การติดต่อระหว่างระบบสื่อสารต่างหน่วยงานและระบบไม่
สามารถรองรับการรับส่งข้อมูลข่าวสารที่มีปริมาณมากด้วยความรวดเร็วและทันเหตุการณ์ได้โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งมีความจ าเป็นที่หน่วยปฏิบัติทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องบูรณา
การหรือด าเนินงานร่วมกันอย่างประสานสอดคล้องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ การวิจัยฉบับนี้มี
วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการบูรณาการการใช้คลื่นความถี่และการจัดตั้ง
ระบบสื่อสารสนับสนุนภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อการติดต่อสื่อสารแบบเสียงและข้อมูล
ความเร็วสูงให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดการลงทุนซ้ าซ้อน โดยศึกษารูปแบบสากลและแนวทางการใช้
คลื่นความถี่และการจัดตั้งระบบสื่อสารส าหรับภารกิจดังกล่าวของประเทศสหรัฐอเมริกา สหราช
อาณาจักร และสาธารณรัฐเกาหลี การน าข้อมูลสภาพแวดล้อม/ข้อจ ากัดในการบริหารจัดการภาครัฐของ
ประเทศไทย รวมทั้งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์รูปแบบบูรณาการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย
พร้อมการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคุ้มค่าเป็นกรณีต่างๆ ซึ่งผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดตั้ง
เครือข่ายแห่งชาติแบบโครงข่ายเฉพาะเพื่อภารกิจ (Dedicated Network) และการใช้คลื่นความถี่
ร่วมกัน (Single PPDR) เป็นรูปแบบที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด และเสนอให้แยกบทบาทหน่วยงานผู้ปฏิบัติ
ภารกิจและหน่วยงานปฏิบัติการเครือข่ายออกจากกันเพื่อให้หน่วยงานผู้ปฏิบัติภารกิจมุ่งเน้นการพัฒนา
นวัตกรรม (Applications) และระบบสารสนเทศให้มีการน าข้อมูลจากเครือข่ายวิทยุสื่อสารข้อมูล
ความเร็วสูงมาใช้ในเชิงวิเคราะห์ (Data Analytics) แบบ real time ประกอบการพิจารณาตัดสินใจได้
อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และลดการสูญเสีย ทั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้ บมจ. กสท
โทรคมนาคม เป็นผู้ลงทุนและด าเนินโครงการเนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์
สูงสุด ลดค่าใช้จ่ายโครงการได้มากกว่า ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ลดระยะเวลาด าเนินโครงการ/สามารถ
ด าเนินการได้ทันที รวมทั้งให้เตรียมศึกษาการน าเทคโนโลยี ๕จี มาใช้งานร่วมกับเครือข่ายนี้
abstract:
ABSTRACT
Title The Efficient Framework of Frequency Utilization and Wireless
Network Structure for Broadband Public Protection and Disaster
Relief Applications
Field Science and Technology
Name Mr. Viroj Tocharoenvanith Course NDC Class 60
In the digital economy era, the information and innovation play an
important role to improve the quality of life for the people and society. Advanced IT
concepts such as Data Analytic Application and Big Data, of which data are needed to
deliver by the high speed broadband network, are implemented in various sectors
including public protection and disaster relief sector (PPDR). At present, most of the
communication systems used by PPDR agencies are the conventional land mobile
radiocommunication system (LMR) which is mainly for voice communication and low
speed data, not support broadband application. In addition, LMR were implemented by
each PPDR agencies lead to duplication investment, high operation cost, inter-agency
communication issue, etc. The objectives of this research are to study and propose the
effective framework of frequency utilization and wireless network structure that align
with Thai administration structure. The international recommendations and related
researches for broadband PPDR and Thai relevant roles and regulations are analyzed.
The success cases of broadband PPDR in USA, UK and South Korea are learned
including the invaluable ideas and comments from interview with Thai government
experts both civil and military domains. The research outcome proposes to setup a
national broadband PPDR network using 4G-LTE platform and existing
telecommunication infrastructure, operated by a state-owned mobile operator, to
support high speed broadband PPDR applications, reduce duplication investment,
human resources issues. The financial models of different scenarios are shown how
cost-effective of the proposed framework is. The research also recommends on how
government can support the network without putting the huge investment in one time,
but instead on yearly basis, and the future research for coming 5G technology.