Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการใช้ประโยชน์จาการบูรณาการข้อมูลจัดตั้งคลังข้อมูลแห่งชาติเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย รณดล นุ่มนนท์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการใช้ประโยชน์จากการบูรณาการข้อมูลจัดตั้งคลังข้อมูลแห่งชาติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายรณดล นุ่มนนท์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่60 ปัญหาความเหลื่อมล้้าทางรายได้และปัญหากับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle income trap) เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ต้องเร่งแก้ไข แนวทางการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data เพื่อสร้างนวัตกรรมเป็นแนวคิดหนึ่งในยุคที่เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี งานวิจัยฉบับนี้มีขอบเขตการศึกษาศักยภาพข้อมูลขนาดใหญ่และผลต่อการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ ศึกษาแนวนโยบายส่งเสริมการใช้ข้อมูลในต่างประเทศ ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาด้าน การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์ เน้นศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศที่ มีพัฒนาการในด้านนี้งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อน้ามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวทางการบูรณาการข้อมูลในประเทศ เพื่อน้าเสนอแนวทาง การบูรณาการข้อมูลที่เหมาะสมกับประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าก่อให้เกิดการสร้างข้อมูลเป็น จ้านวนมากจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ข้อมูลเหล่านี้หากได้รับการบูรณาการและเปิดเผยแก่สาธารณะ เพื่อน้าไปใช้ประโยชน์จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการใหม่ในระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งยัง สามารถใช้เป็นข้อมูลดิบในการพัฒนานวัตกรรมได้ ข้อมูลที่มีอยู่เป็นจ้านวนมากน้าไปสู่แนวคิด การเปิดเผยข้อมูลหรือ Open Data โดยเน้นข้อมูลส้าคัญที่จัดเก็บโดยภาครัฐ ในสหรัฐอเมริกามี การประมาณการประโยชน์จาก Open Data ต่อเศรษฐกิจสูงถึง 3 ล้านล้านดอลล่าร์สรอ. ปัญหาส้าคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการบูรณาการข้อมูลของประเทศไทยคือ ทรัพยากร มนุษย์ที่ขาดทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและยังไม่มีนโยบายภาครัฐที่ชัดเจนเพื่อแก้ไข ปัญหาดังกล่าว อีกทั้งกฎหมายที่รองรับ เช่น กฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวยังขาดความชัดเจน เกี่ยวกับหลักการคุ้มครองการเคลื่อนย้ายข้อมูลข้ามพรมแดน กฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ที่มี ความกังวลจากภาคประชาชนด้านความสมดุลระหว่างความมั่นคงและความเป็นส่วนตัว อีกทั้ง กฎหมายทั้งสองฉบับยังประสบปัญหาล่าช้าในการออกประกาศใช้ ผู้วิจัยน้าเสนอแนวทางการจัดตั้งคลังข้อมูลแห่งชาติในรูปแบบ De-centralized มีต้นแบบจากระบบ Data Exchange Platform (X-Road) ของประเทศเอสโตเนีย แบ่งออกเป็น สองระยะ ระยะแรกจัดให้มีหน่วยงานกลางเพื่อดูแลการให้บริการ Data Sharing Platform และ จัดท้ามาตรฐานข้อมูล Data Sharing Platform ของประเทศไทยจะท้าหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูล หน่วยงานภาครัฐเพื่ออ้านวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายหรืออ้างอิงข้อมูลข้ามหน่วยงาน รวมทั้ง เป็นพื้นฐานเพื่อสร้าง e-service ภาครัฐ ระยะที่สองจะขยายการเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูล ภาคเอกชนเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้

abstract:

9 ABSTRACT Title Establishing a Thai National Data Bureauand its role on increasing economic competitiveness. Field Economics Name Mr. Ronadol Numnonda Course NDC Class 60 Thailand’s middle income trap is an economic structural problem that needs to be urgently addressed. The use of Big data is one of the ideas frequently mentioned in the age that most economic activities driven by technology. This research focuses on potential economic value creates by unlocking innovation arise from Big data. Area of study includes data privacy, cyber security and factors that promote data usage. Case studies focused on countries that show notable advancement in the area. This research is a qualitative research employing secondary and qualitative data. A comparative analysis is used to identify strengths and weaknesses of each country’s approach on data integration to establish model suitable for Thailand. The research found that, given advancement in technology large amount of data is created as most economic activities rely on technology. Those data, if integrated and made publicly available, has potential to accelerate the development and production of goods and services in the economy. It can also be used as foundation for innovation. Large amount of information leads to new concept on data usage widely known as Open data. Open Data is a concept that promotes information disclosure particularly data gather by the Government. In the United States, benefits of Open Data to the economy estimated to be as high as $ 3 trillion. The major obstacle that hinders the development of national data integration plan is skill shortage specifically in the area of information technology, and there is no clear government policy to address such problems. In addition, laws such as Data privacy laws are still unclear regarding the principle of cross border protection. The balance between security and privacy of Cyber security law are also concerned. Both laws have long been delayed by bureaucracy. This research presented the approach for establishment of national data sharing platform employing De-centralized approach from the Data Exchange Platform (X-Road) of Estonia. In the first phase, a central agency oversee the Data Sharing Platform and responsible for develop a data standard will be established. The 10 Data Sharing Platform will link government agencies to facilitate cross-referencing of information as well as to offer e-government services to the public. The second phase will extend the link to private sector enabling data exchange between public and private entities.