เรื่อง: การบริหารจัดการว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากร กรณีศึกษา : พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เกาะแสมสาร และเกาะใกล้เคียง
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการศึกษา/Education
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี ภิญโญ โตเลี้ยง
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การบริหารจัดการว่าด้วยการอนุรักษ์และการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่
เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากร กรณีศึกษา : พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะ
และทะเลไทย เกาะแสมสาร และเกาะใกล้เคียง
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย พลเรือตรี ภิญโญ โตเลี้ยง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
รัฐบาลคาดหวังว่าโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic
Corridor : EEC) จะเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวใหม่ (New Engine of
Growth) ตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตมีความ
มั่งคั่งอยู่ในระดับที่สามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (Middle-Income Trap) ซึ่งคาดว่าจะ
มีการหลั่งไหลของประชาชนทั้งชาวไทยและต่างชาติเป็นจ านวนมากเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรม
ที่หลากหลายในพื้นที่โครงการดังกล่าวซึ่งกินพื้นที่หลายอ าเภอคาบเกี่ยวกันของจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชลบุรี และระยอง อย่างไรก็ตามจากปัญหาสะสมอย่างยาวนานนับตั้งแต่อดีตสืบเนื่องมาจาก
พฤติกรรมของประชาชนทั้งที่อยู่อาศัยอยู่แต่เดิมและที่เข้ามาในภายหลัง ชี้ให้เห็นถึงความน่าวิตกว่า
หากยังไม่มีการเตรียมการส าหรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในอนาคตอันใกล้อย่างเหมาะสมตั้งแต่
บัดนี้แล้ว สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันสวยงามรวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล
ที่สามารถใช้เป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมกับใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สภาวะแวดล้อม
ที่เหมาะสมส าหรับการด ารงชีพอย่างยั่งยืนอาจเสียหายไปในอัตราที่รวดเร็วเกินกว่าความสามารถ
ในการฟื้นฟูตัวเองของทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นจนถูกท าลายไปจนหมดสิ้นในที่สุดได้ ทั้งนี้การ
ก าหนดมาตรการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอย่างเหมาะสมย่อมต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนโดย
อาศัยหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและข้อมูลที่ถูกต้องรวมทั้งความร่วมมือของผู้มีส่วนได้เสีย
ทุกภาคส่วนในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการนั้นจะสามารถน าไปสู่การปฏิบัติได้จริง
เอกสารวิจัยส่วนบุคคลฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่
ที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการ EEC ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งในทะเลและบนบกบริเวณต าบลแสมสาร
อ าเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ที่กองทัพเรือได้ร่วมสนองพระราชด าริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
อันเนื่องมาจากพระราชด าริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ (อพ.สธ.-ทร.) มาตั้งแต่
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ ด้วย เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมรองรับผลกระทบ
ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลโดยจ ากัดพื้นที่งานวิจัยเฉพาะบริเวณ
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เกาะแสมสารและเกาะใกล้เคียงรวม ๙ เกาะ จากการ
วิจัยเฉพาะกรณีศึกษา : พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เกาะแสมสารและเกาะใกล้เคียง
ได้ข้อสรุปว่าแนวทางการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล (Marine Spatial Planning : MSP) มีความ
เหมาะสมเนื่องจากเป็นแนวทางการจัดการแบบองค์รวม (Holistic Approach) ที่ค านึงถึงการบรรลุ
วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อเงื่อนไขการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้
ประโยชน์พื้นที่เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรท าให้เกิดความมั่นใจได้ว่าทรัพยากรและพื้นที่ทางทะเลข
จะได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ส าหรับความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจตามเป้าหมายของ EEC และ
เพื่อการศึกษาเรียนรู้ส าหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความยั่งยืนแบบบูรณาการ รวมทั้ง
การก าหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล (Marine Protected Area : MPA ) จะมีส่วนอย่างส าคัญ
ในการปกป้องและคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในฐานะเป็นเครื่องมือและอ านาจ
ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติในพื้นที่เป้าหมายที่ส าคัญจะช่วยให้กองทัพเรือสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของ
การอนุรักษ์และพัฒนาควบคู่กันไปอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นเป้าหมายการบริหารจัดการและการวาง
แผนการใช้ทรัพยากรทะเลในระดับยุทธศาสตร์ส าหรับอนาคตซึ่งเป็นการบรรลุภารกิจ “ความมั่นคง
ทางทรัพยากรคือความมั่นคงของชาติ”นั่นเอง
ค าส าคัญ : การอนุรักษ์และการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากร, การ
วางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล, พื้นที่คลุมครองทางทะเล
abstract:
Abstract
Title Management of Conservation and Development of Land uses for
Sustainability of Resources, case study : Thai Island and Sea
Natural History Museum, Samaesarn Island and nearby The
Islands.
Field Science and Technology
Name RADM. Pinyo Tolieng Course NDC Class 60
The Eastern Economic Corridor (EEC) within specific area of Chachuengsao –
Chonburi - Rayong provinces is expected as the New Engine of Growth which will
drive Thailand 4.0 Strategy to boost up the economy to the satisfactory level that
make Thailand be able to leave the decades-long Middle-Income Trap. The ideal of
EEC is to focus not only on Economic sector but also on Social and Culture, Science
and Technology and others sectors in a very large scale. The dramatically flowing of
huge number of people around the world into projects area might cause, in
somehow, a great deal of demands of natural resources and the never-end
requirements of infrastructure and high-standard accommodation as well as worldclass tourism and recreational space, which therefore, a great deal of affect to the
deterioration of environment in the relevant areas. To ensure that the management
for sustainable of natural resources and well-conserved environment in the area of
the Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal
Highness Princess MahaChakriSirindhorn-Royal Thai Navy (RSPG-Navy) in Samaesarn
village as part of EEC project area will be focused in parallel with the development
for economic growth, so that, the RSPG-Navy’s management must seriously take into
account to comply with the global and well-proven Area Management Concept
rather than nowadays Royal Thai Navy’s Go-on-Alone Concept that has been using
since RSPG-Navy has been established in 1998.
The purpose of the study on management of conservation and development for
sustainable of natural resources ; case study : The Thai Island and Sea Natural History
Museum as well as Samaesarn Island and its nearby islands is to find out the
suitable concept for RSPG-Navy to cope with the changes caused by EEC in its
project area. The result of study is Marine Spatial Planning (MSP) will be the selected
concept that RSPG-Navy should comply with, since it is a holistic approach to
balance the economic growth as the major target of EEC with the sustainable of
natural resources and environment condition affected by EEC. Also the Marine ง
Protected Area (MPA) concept should be applied in area of the dense biodiversity,
mainly on Samaesarn Island, to ensure that the Royal Thai Navy will have, in its
capacity, sufficient tools and authority to run the day-to-day work smoothly and,
finally, reach to the RSPG-Navy’s “Natural Resources Security is National Security” as
its ultimate strategic goal.
Keyword : conservation and development for sustainable of natural resources,
Marine Spatial Planning (MSP), Marine Protected Area (MPA)