เรื่อง: การศึกษาความต้องการจ้างแรงงานสูงอายุในสถานประกอบการ
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว ไพลิน จินดามณีพร
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางในการจ้างแรงงานสูงอายุในสถานประกอบการ
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นางสาวไพลิน จินดามณีพร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
การวิจัยเรื่อง “แนวทางในการจ้างแรงงานสูงอายุในสถานประกอบการ” ใช้ระเบียบวิธีวิจัย
เชิงบรรยาย (Descriptive Research) ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัย
เชิงคุณภาพ (Qualitative) เพื่อศึกษาความต้องการและความคาดหวังของสถานประกอบการในการจ้าง
แรงงานสูงอายุ เพื่อทราบปัญหาและอุปสรรคในการจ้างงานแรงงานสูงอายุ และเพื่อเสนอแนวทางในการจ้าง
แรงงานสูงอายุในสถานประกอบการ โดยท าการศึกษาใน 3 ส่วนองค์ประกอบที่มีความเชื่อมโยงกัน คือ
สถานการณ์แรงงานสูงอายุ สภาพสังคม เศรษฐกิจในประเทศไทยที่มีผลต่อการประกันสังคม ตลอดจน
นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ความต้องการและรับฟังข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย ที่มีผลต่อการจ้างงานแรงงานสูงอายุ และผลกระทบกรณีการจ้างแรงงานสูงอายุในสถานประกอบการ
เพื่อน ามาเป็นข้อมูลประกอบการก าหนดเป็นแนวทางในการจ้างแรงงานสูงอายุในสถานประกอบการ
ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างประชากรของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
กล่าวคือ การคาดการณ์ว่าโลกก าลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในศตวรรษแห่งผู้สูงอายุช่วงปี 2001-2100 แต่ละ
ประเทศจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศส าหรับสถานการณ์ของ
ประเทศไทยพบว่า ก าลังจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้นี้โดยในปี 2566 จะเป็น
"สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์" และจะเป็น "สังคมสูงวัยระดับสุดยอด" ในปี 2576 ประเด็นส าคัญที่มีผลต่อการจ้างงาน
ของผู้สูงอายุในประเทศไทยมีหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมสูงอายุ
ความต้องการด้านหลักประกันรายได้ที่มั่นคงยามชราภาพของผู้สูงอายุการเตรียมตัวด้านการออมเพื่อชราภาพ
ยังมีน้อย นโยบายและยุทธศาสตร์ที่รองรับการเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจ้างงาน
ผู้สูงอายุ คือ ปัจจัยจากผู้สูงอายุ (ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านทักษะอาชีพ) ปัจจัยด้าน
นโยบายและการบริหารจัดการ (การเตรียมความพร้อมโดยการร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชนตั้งแต่
ระดับบุคคล ชุมชนและประเทศ การเตรียมวางแผน การออม การร่วมมือกันในชุมชน การจัดกิจกรรม
เผยแพร่ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ การปรับตัวทางด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุ รวมทั้ง
การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนและการออมเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อถึงวัยผู้สูงอายุ)
ข้อเสนอแนะ ระยะแรกควรก าหนดเป็นนโยบายให้สถานประกอบการและแรงงานสูงอายุ
สมัครใจจ้างและท างานในสถานประกอบการ โดยรัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรที่มีการจ้างงาน
ผู้สูงอายุด้วยมาตรการต ่าง ๆ เช ่น การลดหย ่อนภาษี การส ่งเสริมการพัฒนาเครื ่องจักรหรือ
สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการท างานของผู้สูงอายุ เป็นต้น ส่วนในระยะยาวรัฐบาลออกเป็นกฎหมายภาค
บังคับให้สถานประกอบการต้องจ้างแรงงานผู้สูงอายุท างานในลักษณะเดียวกับการจ้างแรงงานผู้พิการ
abstract:
ข
Abstract
Subject Approach on Employment of Elderly Workers in Enterprises
Category Social Phycology
Researcher Miss Pailin Jindamaneeporn Field NDC Class 60
The thesis “Approach on Employment of Elderly Workers in Enterprises” uses
descriptive, quantitative, and qualitative research methodologies to study on demands
and expectations of the enterprises employing elderly workers. This study is to ascertain
problems and obstacles, as well as to form suggestions on how the enterprises employ
should such workers. The research consists of 3 correlating components which affect the
social security: the situation concerning elderly workers, the state of society, and the
economy of Thailand. Additionally, this study takes account of all factors influencing the
employment of elderly workers: the policies, the strategies, the work plans, the relating
laws, the needs and opinions of stakeholders, and the effects from the enterprises
employing elderly workers. These factors are taken into consideration in forming the
approach on employment of elderly workers in enterprises.
The study’s results show that the World population’s structure has an
apparent change. There is speculation on the World developing into Aging Society in the
Century of Elderly Persons from A.C. 2001 - 2100. While each country is aging on their
own terms, Thailand will be Aged Society in B.E. 2566 (A.C. 2023) and will be HyperAged/Super-Aged Society in B.E. 2576 (A.C. 2033). There are many deciding factors
regarding elderly employment in Thailand such as the elderly themselves (health,
economy, society, and labor skill), the policies and management (laying the groundwork
by cooperating between the public and the private from personal level to community
level and country level, planning, saving of funds, communal collaboration, knowledge
management on elderly healthcare, social and mental adjustment in Old-Age, as well as
consultation on investment and savings for retirement.)
This research suggests that; in the initial period, the policies should focus on
voluntary employment for both the enterprises and the elderly workers. The government ข
should support the institutes that hire the elderly workers, for instance; tax subsidy,
encouragement on development for machines or environment that suit the working
condition of the elderly. In the long term, the government should enforce the laws that
make elderly employment compulsory for the enterprises in the same spirit with the
invalid employment.